ช่างภาพหลายๆ คนคงเคยมีอาการรักพี่เสียดายน้องตอนถ่ายภาพที่มี contrast ของแสงสูงมาก ๆ เช่น ภาพวิวตอนพระอาทิตย์ขึ้นหรือตก หรือ ถ่ายภาพในอาคารแต่อยากได้ท้องฟ้าภายนอกด้วย เมื่อถ่ายภาพลักษณะนี้เรามักจะต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นถ้าเลือกให้จุดที่แสงเยอะกว่าได้รับแสงพอดี อีกจุดก็จะมืดจนไม่เห็นรายละเอียด แต่ถ้าเลือกให้จุดที่แสงน้อยกว่าได้รับแสงพอดี จุดที่แสงเยอะกว่าก็จะได้รับแสงมากเกินไปจนเสียบรรยากาศ … ถ้าต้องการแก้ปัญหานี้ HDR คือคำตอบครับ
HDR ย่อมาจาก High Dinamic Range : การถ่ายภาพแบบ HDR ก็คือการนำภาพที่ได้รับแสงต่าง ๆ กันหลาย ๆ ภาพ (แสงพอดี, แสง under, แสง over) มารวมเป็นภาพเดียว ทำให้เราสามารถเลือกแสงที่เหมาะสมของแต่ละจุดมารวมกันในภาพเดียวเพื่อให้เกิดภาพที่สมบูรณ์มากที่สุด
ความจริงแล้วการสร้างภาพ HDR นั้นสามารถทำได้หลายวิธี ผู้ที่ใช้ Photoshop ได้คล่อง สามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้โปรแกรม HDR โดยเฉพาะ แต่สำหรับผู้ที่ไม่ถนัดในการใช้ Layer Mask ใน photoshop รวมถึงการจัดการเรื่องแสงแล้วผมขอแนะนำโปรแกรมที่ใช้ทำ HDR โดยเฉพาะนั่นก็คือ Photomatix สำหรับวิธีการใช้นั้นก็ไม่ยากครับ ลอง search หาวิธีใช้ดูนะครับมีคนเขียนไว้เยอะแล้วใน internet (Photoshop เองก็มีฟังก์ชันในการทำ HDR เช่นเดียวกัน แต่ผมลองแล้วได้ผลไม่ค่อยดีนัก อาจเป็นเพราะผมยังไม่เข้าใจดีพอ หรือลักษณะภาพบางภาพไม่เหมาะก็เป็นไปได้ เพื่อน ๆ อาจลองใช้ดูก็ได้ครับ จะได้ไม่ต้องไปหา Photomatix ให้ยุ่งยาก)
ผลที่ได้จากโปรแกรม Photomatix นั้นสามารถปรับได้หลายแบบมากขึ้นอยู่กับความต้องการของเรา บางแบบจะดูออกแนวแฟนตาซีคล้าย ๆ กับสร้างจากโปรแกรม 3D บางแบบก็จะดูสมจริง อันนี้ก็แล้วแต่เพื่อน ๆ ชอบครับ
ภาพต้นฉบับภาพแรกวัดแสงปกติ (รายละเอียดในส่วนหลังคาหายไป)
ภาพต้นฉบับภาพที่สองวัดแสง Under 2 Stop
ภาพต้นฉบับภาพที่สามวัดแสง Over 2 Stop
นำภาพทั้งสามมาทำ HDR ในโปรแกรม PhotoMatix ภาพแรกเลือกแบบที่ออกแนวเหนือจริงหน่อย
ส่วนภาพที่สองเลือกแบบที่ค่อนข้างดูกลมกลืน
ประเภทภาพที่นำมาทำ HDR นั้นส่วนใหญ่นิยมทำกับภาพวิวทิวทัศน์ ซึ่งมีมืออาชีพจำนวนมากนิยมภาพแนวนี้ เพื่อน ๆ ลองดูตัวอย่างภาพสวย ๆ โดยใช้คำค้นหาว่า HDR จาก Website สำหรับแชร์ภาพถ่ายเช่น Flickr.com ดูนะครับ จะได้เห็นภาพสวยๆ แนว HDR มากมาย เผื่อจะมี idea ไปสร้างสรรค์ภาพแนวนี้มาอวดกันบ้าง 🙂