Select Page

มินิรีวิว – Lofoten, Norway ฉบับย่อ

ก่อนจะพบกับรีวิวฉบับเต็ม เอาใจวัยรุ่นขี้เกียจอ่านด้วยอัลบัมรีวิวฉบับย่อกันก่อนเลย … ส่วนใครที่ยังไม่รู้จัก Lofoten แนะนำสั้นๆ ละกันว่าที่นี่คือหมู่เกาะในฝันของเหล่านักท่องเที่ยวและช่างภาพจากทั่วโลก เหมือนยกเอาเทือกเขาสุดอลังการแบบ Dolomite ที่อิตาลีมาวางต่อๆ กันตรงชายฝั่งของ ​Iceland แซมด้วยทุ่งหญ้าสไตล์ Swiss แล้วหยอดบ้านทาสีแดงไว้เป็นหย่อมๆ … ถ้ายังนึกไม่ออกก็ดูเอาจากภาพในอัลบัมนะ แต่ให้ดีควรไปดูด้วยตาตัวเอง เพราะของจริงมันยิ่งใหญ่อลังการกว่านี้ 276%

#1 แผนการเดินทาง

มาที่แผนการเดินทางของผมเตามแบบฉบับคนวันลาน้อยงบจำกัด  จึงจัดทริปแค่ 9 วันตามโปรแกรมนี้เลย

ช่วงที่เดินทาง  21-29 กันยายน 2561

  • วันที่ 1 : เดินทางถึง Oslo, ขับรถเที่ยวเมืองใกล้สนามบิน พักโรงแรมข้างสนามบินเพื่อรอต่อไฟลท์ตอนเช้า
  • วันที่ 2 : ต่อเครื่องไป Narvik, รับรถเช่าแล้วขับเข้าหมู่เกาะ Lofoten  พักที่เมือง Svolvær
  • วันที่ 3 :  เดินทางไปพักใกล้เมือง Leknes โดยแวะเที่ยวระหว่างทาง
  • วันที่ 4-6 : ย้ายที่พักไปยังเมือง Hamnøy ใช้เป็นฐานเที่ยวบริเวณรอบๆ
  • วันที่ 7 : เดินทางกลับไปพักใกล้ๆ เมือง Narvik และเก็บตกสถานที่ท่องเที่ยวระหว่างทาง
  • วันที่ 8 : คืนรถตอนเช้าแล้วบินกลับไป Oslo และค้างใน Oslo 1 คืน
  • วันที่ 9 : เดินทางกลับ

รูปแบบการเดินทางโดยย่อก็จะประมาณนี้  Bangkok 🛩️ Oslo 🛩️ Narvik 🚗 Lofoten 🚗  Narvik 🛩️ Oslo 🛩️ Bangkok

สายการบิน

  • Bangkok – Oslo – Bangkok บินตรงไปกับการบินไทยด้วยเที่ยวบิน ​TG954/TG955 สะดวกสบายและเวลาดีทีเดียว รายละเอียดผมรีวิวไว้แล้วที่ https://www.9mot.com/2018/10/riview-tg-954-955-thai-airways-bangkok-oslo/
  • ส่วนบินในประเทศใช้บริการสายการบิน Norwegian ซึ่งเป็น low cost ที่ราคาไม่ได้ low เหมือนชื่อ แต่ในเรื่องคุณภาพก็ถือว่าดีเลยล่ะครับ ถ้าจองล่วงหน้านานหน่อยราคาก็จะเบาลงสักนิด

#2 รถเช่า, ประกันรถเช่าและประกันการเดินทาง

 

ทริปขับรถเที่ยวโดยรับรถเช่าขับจากสนามบิน Narvik /Evenes (EVE) ซึ่งอยู่ต้นทางของหมู่เกาะ Lofoten ขับเที่ยวไปเรื่อยๆ แล้วย้อนกลับมาคืนรถที่เดิม  รถรุ่นที่เช่าเป็นแบบ ​Estate คือมีพื้นที่วางของด้านหลังเยอะหน่อย  เราไปกัน 4 คนถือว่าสบายๆ ทั้งที่นั่งและที่วางสัมภาระทั้งหมด  โดยจองและซื้อประกันแบบ 0 excess ผ่าน rentalcars.com ได้รถเป็นของบริษัท Budget (ใน Norway จะใช้รถร่วมกันกับ Avis) ยี่ห้อ Skoda เกียร์ออโต้ รุ่น Octavia 4×4 โดยรวมประทับใจคุณภาพรถมากครับ ประหยัดน้ำมันด้วยเพราะเป็นดีเซล … อย่างไรก็ตามหลังจบทริปผมโดนบริษัทรถเช่าเรียกเก็บค่าอำนวยความสะดวกในสนามบินและคิดค่าคนขับคนที่ 2 เกินกว่าที่ระบุไว้ในเวปไซต์  ผมจึงร้องเรียนไปทาง rentalcars.com ผ่านทางเมลสำรวจความพึงพอใจ ปรากฏว่าภายใน 1 วันทาง  rentalcars.com ก็แจ้งคืนเงินส่วนเกินทั้งหมด  ซึ่งยอมรับเลยว่าประทับใจมากเพราะถ้าต้อง deal กับบริษัทรถเช่าเองโดยตรงคงได้เงินคืนยากหรืออาจได้แค่บางส่วนและคงต้องใช้เวลามากกว่านี้

อีกอย่างที่สำคัญคือ “ประกันเดินทาง” ซึ่งทุกคนที่มาเที่ยวยุโรปต้องทำอยู่แล้วเพื่อใช้เป็นเอกสารยื่นขอ Schengen VISA ผมเลือกทำประกับกับ “ซมโปะ”​ แบบที่มีความคุ้มครองเพิ่มเติมค่าเสียหายส่วนแรกของรถเช่า รวมถึงความคุ้มครองเพิ่มเติมอื่นๆ ด้วย  ลองอ่านรีวิวที่ผมเขียนอธิบายไว้อย่างละเอียดได้ที่  https://www.9mot.com/2018/10/travel-car-rental-insurance/  … ส่วนใครสนใจทำประกันเดินทาง  ทางซมโปะมีส่วนลดพิเศษให้ 10% เพียงจองจาก link นี้  https://bit.ly/2P4NpgB

ป.ล. รถเช่าบางบริษัทราคาถูก แต่จำกัดระยะทางการวิ่งต่อวัน  และบางบริษัทต้องเสียเงินเพิ่มถ้ามีการนำรถขึ้นเรือเฟอร์รี่ อย่าลืมเช็คก่อนจอง

 

#3 ที่พัก

ทุกแห่งผมจองผ่าน booking.com เพราะผมเป็นสมาชิกระดับ genius ที่ได้ส่วนลดในการจองที่พักบางแห่ง และไม่ต้องจ่ายเงินก่อน สามารถยกเลิกได้สะดวก  ที่สำคัญผมชอบระบบจองของ booking.com ซึ่งใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพ ถือว่าทริปนี้ประทับใจที่พักทุกแห่งครับ มากน้อยแตกต่างกันไป  ผมทำรีวิวที่พักไว้ให้แล้วตา  link นี้ได้เลย https://www.9mot.com/2018/10/6-recommended-hotels-lofoten-and-oslo-norway/

 

#4 อาหารการกิน

บอกได้เลยว่าค่าอาหารใน Norway ตามร้านนั้นแพงมาก  จานหลักแบบเบาะๆ ก็ 4-6 ร้อยบาท  แถมในเขต Lofoten นั้นมีร้านไม่เยอะนัก ยกเว้นตามเมืองใหญ่ … วันแรกผมหวังพึ่งร้านอาหารระหว่างทางตอนขับเข้า Lofoten ปรากฏไม่เจอร้านอาหารหรือร้านสะดวกซื้อเลย  ต้องหิ้วท้องขับรถไปจนถึงเมืองที่พักจึงได้ทานข้าวมื้อเที่ยงควบกับมื้อเย็น … ทริปนี้เพื่อความสะดวกและประหยัดงบผมจึงนำเครื่องปรุงสำเร็จของ “โลโบ” ไปทำอาหารทานกันเองเหมือนกับทริปยุโรปที่ผ่านๆ มา   แต่รอบนี้เอาเมนูใหม่ๆ ไปลองด้วย แบบว่า advance กว่าทุกครั้ง  เลยเอามาสรุปให้ฟังครับว่าแต่ละเมนูเป็นอย่างไรบ้าง

  • #หมูแดง เมนูที่เพิ่งเคยลองครั้งแรก ต้องใช้เวลาในการหมักเนื้อและเตรียมน้ำราดอยู่สักหน่อยแต่ขั้นตอนนั้นไม่ยาก หน้าตาที่ได้เหมือนหมูแดงจากร้านเลย รสจะติดเค็มนิดหน่อย (ไม่แน่ใจเพราะหมักข้ามคืนแทนที่จะเป็น 2 ชั่วโมงตามที่แนะนำข้างซองไหม) แต่ทานกับน้ำราดที่เอามาคู่กันและข้าวสวยร้อนๆ รสชาติกำลังดี
  • #ไข่ลูกเขย เพิ่งเคยลองครั้งแรกเช่นกัน อันนี้ง่ายสุดๆ เปิดขวดแล้วใช้ราดไข่ได้เลย หรือจะอุ่นให้ร้อนก่อนก็ได้ จะยากหน่อยก็ตรงไข่ที่ต้องต้มไข่แล้วเอามาทอดให้ผิวกรอบตามแบบฉบับไข่ลูกเขยไทยแท้
  • #แกงเขียวหวานไก่ รสชาติกลมกล่อมอร่อยดี ซื้อผักและมะเขือมาใส่ด้วยจะช่วยเพิ่มรสชาติได้ เป็นอีกเมนูที่ทำง่าย
  • #กะเพรา อันนี้เตรียมาทุกทริป รสชาติดี ทริปนี้เอามาผัดกับไส้กรอกแทนเนื้อครับ
  • #พะแนง รสชาติเข้มข้นอร่อยดี ซึ่งผมว่าแกงต่างๆ เป็นจุดเด่นของโลโบเลย ทำรสชาติออกมาได้กลมกล่อม และไม่ยุ่งยากในการปรุง
  • #ผงกุ้งทอดพริกเกลือ ที่จริงตั้งใจซื้อกุ้งสดๆ มาทำแต่สงสัยช่วงที่ไปพายุเข้า ไม่มีกุ้งสดๆ ขายเลย แม่ครัวประจำกรุ๊ปเลยประยุกต์เอามาทำหมูทอดกระเทียมพริกไทย โดยใส่พริกไทยกับน้ำตาลเพิ่ม ปรากฏว่าอร่อยมากๆ ทานกับข้าวสวยนี่ฟินเลย (ถ้าเป็นข้าวเหนียวจะยิ่งอร่อย แต่ไม่ได้เตรียมมา 555)
  • #ผงข้าวผัด เมนูนี้ก็ไม่ยากครับ ช่วยเพิ่มรสชาติให้กับข้าวผัดได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องปรุงเพิ่ม หาซื้อเนื้อกับผักและไข่มาใส่ด้วยก็จบแล้ว
  • #แป้งไก่ทอด ทริปนี้ไม่ได้ทอดไก่ แต่ซื้อเห็ด, มะเขือ, หอมแดงที่ซุปเปอร์มาทอดแทน อร่อยเช่นกัน แต่เพื่อเพิ่มรสชาติอย่าลืมทานคู่กับน้ำจิ้มไก่ของโลโบนะ
  • #คั่วกลิ้ง ปกติแอดไม่ค่อยชอบคั่วกลิ้งเลย แต่เพื่อนๆ ชอบเลยเอามา ปรากฏว่ารสชาติดีทีเดียว รู้สึกรสออกไปทางผัดเผ็ด ทานแก้เลี่ยนได้ดี
  • #สังขยา ติดตัวมาทุกทริป ทำง่ายแค่เติมน้ำร้อนก็ได้สังขยาสำหรับจิ้มกับขนมปังแล้ว รอบหน้าจะลองทำเป็นขนมปังอบไอน้ำเพราะทานกับแผ่นแบบนุ่มๆ น่าจะอร่อยยิ่งขึ้น
  • #มัสมั่น เสียดายมากที่ซื้อมาแบบซองแทนที่จะซื้อแบบที่มีกะทิมาด้วยเลยไม่ได้ลอง (สรุปว่าซื้อผิดนั่นเอง)

ส่วนเมนูอื่นๆ ที่แนะนำให้ลองเมื่อมาเที่ยว Lofoten คือ ปลาแซลมอนทอดเกลือ ซึ่งสามารถหาซื้อปลาสดๆ ได้ที่ร้านขาย seafood ใกลักับเมือง Hamnøy ทานคู่กับพริกหวานของที่นี่ซึ่งสดและกรอบสุดๆ .. นอกจานี้อาจลองทาน Sushi ของที่ร้านนี้ด้วยก็ได้ อร่อยมากเช่นกัน … จะทานในร้านหรือซื้อไปนั่งทานริมทะเลชมวิวสวยๆ ก็ได้

ใครสนใจเมนูของโลโบ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เวปเค้าเลยครับ  http://www.lobo.co.th/

ป.ล. ถ้าเจอองุ่นเขียวลูกกลมๆ ในร้านสะดวกซื้อ แนะนำให้ลองครับ หวานกรอบอร่อยมากๆ

 

#5 Sim Internet/Pocket WIFI

Internet SIM : Travel Sim World จาก True Move H
ทริปนี้ผมเริ่มใช้งานซิมตั้งแต่ลงเครื่องที่สนามบิน Oslo จากนั้นก็เดินทางขึ้นเหนือไปยังหมู่เกาะ Lofoten ซึ่งเป็นจุดท่องเที่ยวชื่อดังของ Norway … พื้นที่ของหมู่เกาะค่อนข้างกว้าง มีเมืองเล็กเมืองน้อยกระจายตัวอยู่ตามเกาะแก่งต่างๆ เมืองใหญ่ที่สุดในเขตนี้ใหญ่พอๆ กับอำเภอขนาดเล็กของบ้านเราเท่านั้น หรือพูดตรงๆ หมู่เกาะ Lofoten นั้นชนบทจริงๆ แต่การใช้งานตลอด 9 วันตั้งแต่ Oslo และในเขต Lofoten สามารถใช้งานได้ลื่นไหลดีเกือบตลอด … ความเร็วทั้ง upload และ download อยู่ที่ 3 Mbps ไปจนถึง 87.5 Mbps ซึ่งถือว่าเร็วมาก และใช้งานได้อย่างสบาย … มีบางพื้นที่ซึ่งเป็นเขตอับสัญญาณเวลาขับรถสัญญาณจะลดลงไปเป็นช่วงสั้นๆ (เวลาโทร line หรือใช้ facebook จะหลุดไป) แต่เมื่อขับรถต่อไปอีกหน่อยก็สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ ทั้งนี้เครือข่าย roaming ที่ใช้จะเป็นของ Telia N ครับ .

ป.ล. Travel Sim World ราคา 899 บาท ใช้ data ได้ 4GB ภายใน 15 วัน สามารถหาซื้อได้ที่ช้อปของ TrueMoveH และอย่าลืมลงทะเบียนซิมก่อนเดินทางด้วยนะครับ  ดูข้อมูลเพิ่มเติมของ Travel Sim ได้ที่  https://goo.gl/8y4pZV

Pocket Wifi: จาก SkyBerry

Pocket Wifi ที่นำไปใช้ในทริปนี้นั้นเป็นของ ​Sky Berry ซึ่งผมก็เพิ่งเคยใช้เป็นครั้งแรกเหมือนกัน  สรุปผลการใช้งานตามนี้เลย

ข้อดีของ pocket wifi ของ ​Sky Berry

  1. หน้าตาดูดีที่สุดในบรรดา pocket wifi ที่เคยใช้มา … อันนี้ไม่เกี่ยวกับประสิทธิภาพ แต่เป็นความชอบส่วนตัว 555 … เห็นแล้วทำให้รู้สึกว่า เออ pocket wifi ก็ทำให้มันดูดีได้นี่นา ไม่จำเป็นต้องหน้าตามู่ทู่เสมอไป … จะบอกว่าดูดีตั้งแต่กล่องที่ใส่มาแล้วล่ะ ยังกะกล่องของขวัญเลย
  2. แบตเตอร์รี่อึดมากภายใต้รูปร่างอันบอบบาง ตามเสปคบอกว่าใช้ได้ยาวนาน 13 ช.ม. โดยไม่ต้องห่วงเรื่องชาร์จระหว่างวัน ซึ่งตลอดทริปแอดพิสูจแล้วว่าใช้งานได้ตลอดวันจริงๆ แถมแบตยังเหลือ (ระยะเวลาน่าจะราว 12-14 ชั่วโมงเป็นส่วนใหญ่)
  3. ความเร็ว เรื่องนี้คือหัวใจสำคัญ … Sky Berry ใช้ network ของ Vodafone ซึ่งให้ความเร็ว download 20 mbps เป็นส่วนใหญ่และค่อนข้างเสถียรไม่แกว่งขึ้นๆ ลงๆ ทำให้ใช้งานได้ไม่ติดขัด แชร์กันได้สูงสุด 5 คน แต่ผมว่าสัก 3 คนกำลังดีถ้าใช้แบบหนักหน่วง
  4. หากซื้อ package ของยุโรป สามารถเปิดใช้งานได้เลยกรณีที่มีการต่อเครื่องแถบตะวันออกกลาง (บางยี่ห้อถ้าซื้อโซนยุโรปจะใช้โซนอื่นไม่ได้)
  5. สะดวกกว่ามือถือตรงที่ไม่ต้องถอดซิม อย่างเช่นของแฟนผม เค้าไม่อยากถอดซิมเพราะเจ้า case iPhone มันแกะยากมาก ทริปนี้หล่อนเลยยึด pocket wifi ไปใช้กับ iPhone และ iPad ที่ใช้ทำงานระหว่างเดินทาง
  6. ราคาสำหรับใช้ในโซนยุโรปมีสองแบบคือ 300 mb/วัน ราคาวันละ 199 บาท และแบบ 1 gb/วัน ราคาวันละ 399 บาท (ไม่รวมภาษี) แต่เดี๋ยวก่อน ถ้าจองวันนี้-30 พ.ย. 61 สำหรับ package 1 gb/วัน ลดราคาทันที 50% เหลือ 199.5 บาท/วัน หรือพูดง่ายๆ ราคาเท่ากับแบบ 300 mb/วันเท่านั้น

ผมว่าราคานี้คุ้มค่ามากๆ ถ้าสนใจก็จองได้จาก link นี้เลย https://goo.gl/NShM6p (ป.ล. package อื่นๆ ก็ลดนะ แต่แค่ 10%)

 

#6 เครื่องแต่งกาย

ช่วงที่ผมไปเป็นฤดูใบไม้ร่วงและกำลังเข้าสู่ฤดูหนาว อากาศจึงค่อนข้างแปรปรวน  ตอนดูพยากรณ์ก่อนไปบอกว่าอุณหภูมิจะอยู่ระหว่าง 6-15 องศา  แต่พอไปจริงกลับเจออากาศหนาวเย็นระดับ 1 องศาแถมด้วยลม ลูกเห็บ ฝนและหิมะ เรียกได้ว่าเจอครบรสเลย ดังนั้นการเตรียมเสื้อผ้าไปในฤดูกาลนี้ต้องพร้อมไว้ก่อน  เสื้อผ้าควรเป็นแบบกันหนาวได้ดี มีลองจอนด้วยจะช่วยให้อบอุ่นขึ้น ใครขี้หนาวควรมีพวกถุงทรายร้อนและแผ่นติดให้ความอบอุ่นที่รองเท้าติดตัวไปด้วย  อย่าลืมเอาเสื้อตัวนอกที่สามารถกันลมกันฝนไปด้วยนะ

ที่สำคัญอีกอย่างคือรองเท้าที่ควรเป็นแบบกันน้ำ และพื้นแบบกันลื่นเพราะสภาพภูมิประเทศของที่นี่นั้นมีหลากหลายครับ  ทั้งนี้ผมใช้รองเท้าของ Keen รุ่น TARGHEE II MID ถือว่ารับมือได้สบายๆ ครับ

 

#7 อุปกรณ์ถ่ายภาพ

ทริปนี้ก็ยังคงเป็นกล้องตัวเก่ง Nikon D850 ซึ่งนำไปออกทริปใหญ่เป็นครั้งที่สองต่อจากทริปโครเอเชียเมื่อต้นปี  แต่ครั้งนี้ตัดใจไม่เอาเลนส์ 70-200 f4 กับ 14-24 f2.8 รวมถึง filter ชุดใหญ่ของ Nisi ไป เพราะต้องการความคล่องตัวไม่อยากให้น้ำหนักกระเป๋ามากเกินไป  ทริปนี้จึงเหลือเลนส์ที่ติดตัวไปคือ 24-70 f2.8 ใช้เป็นเลนส์หลัก 20 f1.8, 85 f1.8 และ 50 f1.4 (ตัวนี้ไม่ได้หยิบออกมาใช้เลย)  ซึ่งภาพรวมก็ถือว่า ok นะขาดช่วง 85-200 ไปแต่ก็ไม่ได้รู้สึกว่าจำเป็นต้องใช้สักเท่าไหร่  … ส่วน VDO ทริปนี้ใช้กล้องตัวเล็ก Sony A6300 กับเลนส์ 35 f1.8 เป็นหลักคู่กับไม้กันสั่น Zhiyun crane M โดยมีเลนส์ 50 f1.8 กับ 16 f1.4 ติดไปด้วยแต่ไม่ได้ใช้เลย

ทริปนี้ผมได้ลองใช้กระเป๋ากล้องใบใหม่ของ Lowepro รุ่น Flipside400AWII ซึ่งเล็งมานานแล้วเพราะเห็นเพื่อนร่วมทริปใช้ ดูแล้วกระชับดี ปรากฏว่ามีหลายอย่างดีกว่าที่คิดมาก ผมจึงทำรีวิวพิเศษเกี่ยวกับการใช้งานกระเป๋า Lowepro รุ่นนี้ตามแบบของผมแล้ว ลองไปดูกันได้ครับ  https://www.9mot.com/2018/10/%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A7-lowepro-flipside-400-awii/

#8 เรื่องอื่นๆ ที่น่ารู้

  • สนามบิน Narvik ปัจจุบันไม่ได้อยู่ที่เมือง Narvik แต่ย้ายไปอยู่ที่ Evenes โดยใช้ชื่อ Harstad-Narvik lufthavn, Evenes ใช้ code สนามบิน (EVE) .. สนามบินนี้เล็กมาก แต่ก็สะดวกสบายดี
  • การเช็คอินน์ของสายการบิน Norwegian ใช้ระบบอัตโนมัติ ดังนั้นน้ำหนักกระเป๋าเกินกว่าที่กำหนดไว้เครื่องจะไม่รับ
  • การจ่ายค่าน้ำมันในกรณีที่เป็นเครื่องอัตโนมัติ ต้องรูดบัตรก่อนพร้อมใส่ pin code เครื่องจะกันเงินไว้ 1500 Nok หลังจากเติมเสร็จก็ออกจากปั๊มได้เลย จะมีการเคลียร์ยอดภายหลัง
  • ราคาน้ำมันช่วงที่ผมไป (กันยายน 2561) ราว 15-18 Nok/l
  • ถนนแถบ Lofoten จำกัดความเร็วไว้ 80 km/hr เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่จุดที่เป็นชุมชน, ทางแยก จะมีการกำหนดความเร็วที่ต่ำลง  โดยมีป้ายบอกชัดเจน
  • สองข้างถนนบางครั้งไม่มีแสงไฟยามค่ำคืน ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับการขับรถ แต่จะมีเสาทาสีสะท้อนแสงปักเป็นแนวไว้ตลอดเพื่อช่วยในการขับขี่
  • มีสะพาน, อุโมงค์, อุโมงค์ลอดใต้น้ำเป็นระยะ แต่ก็ไม่ได้รู้สึกว่าขับยากหรืออันตรายแต่อย่างใด
  • Tax refund เป็นของ global blue ได้คืน 15-25% สามารถ refund ได้ที่เคาน์เตอร์ของ Global Blue ซึ่งอยู่ทางฝั่งขวาใน departure hall ของสนามบิน Oslo เจ้าหน้าที่ทำงานเร็ว, เตรียมใบเสร็จ, passport, แบบฟอร์ม, ตั๋วเครื่องบิน, มีค่าบริการราว 5% ซึ่งจะหักจากยอดเงินที่เรายื่นขอคืนภาษี สามารถเลือกได้ว่าจะคืนเข้าบัตรเครดิตหรือเงินสด
  • นั่งรถไฟจากสนามบินเข้าเมือง ใช้ขบวนธรรมดาก็พอไม่ต้อง express เพราะถูกกว่าและเวลาก็ไม่ต่างกันมาก
  • ซื้อของตามตู้อัตโนมัติด้วยบัตรเครดิตต้องใช้ pin เช่นตู้ขายตั๋วรถไฟ, ปั๊มน้ำมันที่ไม่มีพนักงาน

 

#9 สรุปค่าใช้จ่ายตลอดทริป

  • ที่พัก  8 คืน คนละ  14,641.20 บาท  (เฉลี่ย 1,830 บาทต่อคนต่อคืน)
  • รถเช่า, คนขับเพิ่มเติม, ประกันรถ 7 วัน  22,956.05 บาทเฉลี่ยคนละ   5,739.01 บาท
  • น้ำมันรถ, ที่จอดรถ 4,405.96  บาทเฉลี่ยคนละ  1,101.49  บาท
  • อาหาร 9 วัน  22,529.86 บาทเฉลี่ยคนละ  5,632.46 บาท
  • ตั๋วรถไฟ ไปกลับเมือง Oslo – สนามบินคนละ  823.01 บาท
  • ตั๋วเครื่องบิน OSL-Narvik คนละ 8,268

รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด 30,600 บาท/คนโดยประมาณ

ป.ล. ค่าใช้จ่ายนี้ไม่รวม

  • ค่าตั๋วเครื่องบิน BKK-OSLO-BKK เพราะผมจ่ายแค่ค่าภาษีคนละ 6,140 บาท
  • ค่าวีซ่าเพราะผมมี Schengen VISA เหลืออยู่
  • ค่า pocket wifi และ sim internet (ต่อคนราว 900 บาท)
  • ช้อปปิ้งส่วนตัว J

รวม link ต่างๆ